
Environ Fact! รู้หรือไม่…น้ำทิ้งไม่เท่ากับน้ำเสีย
วันนี้ EnvironHack ขอเชิญชวนทุกคนมาทำความรู้จักปัญหาน้ำที่ระยองให้เห็นภาพกันมากยิ่งขึ้น
วันนี้ EnvironHack ขอเชิญชวนทุกคนมาทำความรู้จักปัญหาน้ำที่ระยองให้เห็นภาพกันมากยิ่งขึ้น
ระยองเป็นจังหวัดได้รับอิทธิพลมรสุมเกือบตลอดทั้งปีเนื่องจากเป็นพื้นที่ใกล้กับเทือกเขาจันทบุรี ที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ “ฝนภูเขา” (orographic storm) เกิดจากไอน้ำที่พัดมาจากทะเลอ่าวไทยมาปะทะกับภูเขาที่มีป่า ทำให้อากาศบริเวณนั้นลอยตัวสูงขึ้นแล้วเปลี่ยนเป็นเมฆฝน
วิกฤตน้ำมันรั่วกลางทะเล ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวประมงและผู้คนรอบชายหาด ลดความมั่นใจต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ไม่เชื่อมั่นในความปลอดภัยทางด้านอาหารทะเล ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจนี้ ก่อให้เกิดความผันผวนค่าเงินบาทในตลาดหลักทรัพย์เพราะนักลงทุนมีความกังวลจากการจัดการน้ำมันรั่วกลางทะเลที่ล่าช้า
ภัยแล้ง มลพิษทางทะเล น้ำมันรั่ว — ปัญหาระดับชาติของจังหวัดพื้นที่ภาคตะวันออก วันนี้เราจะมาดูกันถึงสาเหตุหลักที่ทำให้ปัญหาน้ำของภาคตะวันออกมีความโดดเด่นออกมาจากที่อื่น
รู้หรือไม่ ระยองเป็นหนึ่งในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นแหล่งรวมที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้มีความต้องการใช้น้ำในปริมาณมหาศาล โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติคาดว่า ในปี 2580 ความต้องการน้ำในพื้นที่ของ EEC จะเพิ่มสูงขึ้นอีกราวร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับระดับความต้องการน้ำในปัจจุบันเลยทีเดียว
แม้บนผิวน้ำจะดูเงียบสงบ แต่ภายใต้ท้องทะเลนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงนับไม่ถ้วน ต้นเหตุในครั้งนี้ไม่ได้มาจากปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างภูเขาไฟระเบิดหรือคลื่นสึนามิ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์
โดยขยะทะเลในฝั่งอ่าวไทยและอันดามันนั้น พบว่าส่วนมากมีต้นทางมาจากประเทศไทย ไม่ใช่ขยะที่ถูกกระแสน้ำพัดพามาเกยฝั่งจากประเทศอื่นแต่อย่างใด
ปลานกแก้ว เป็นปลาที่มีความสำคัญในระบบนิเวศน์ท้องทะเล อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง มีสีสันสดใสสวยงาม ปลานกแก้วส่วนใหญ่เป็นสัตว์กินพืช มีฟันคล้ายจะงอยปากนกแก้ว กัดแทะสาหร่ายบนปะการัง มีฟันชนิดพิเศษในลำคอที่คอยบดปะการังเพื่อสกัดสาหร่ายที่ติดกับปะการังให้เป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ เศษปะการังที่กินเข้าไปจะถูกขับออกมาเป็นทราย กระบวนการนี้เองที่ถือได้ว่าปลานกแก้วเป็น ‘ผู้สร้างหาดทราย’ ปลานกแก้ว 1 ตัว สามารถผลิตทรายได้เกือบร้อยกิโลกรัมต่อปีเลยทีเดียว