อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ที่หลายประเทศลงนามในปารีสเมื่อปี 2558 ก็มีเป้าหมายเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามนี้ค่ะ เรียกว่าเป็น ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เป็นการดำเนินการเพื่อป้องกัน บรรเทา และ ปรับตัว ต่อ Climate Change โดยมีประเทศส่วนใหญ่ตกลงที่จะเข้าร่วม และจะมีการส่งแผนการมีส่วนร่วมซึ่งกำหนดโดยประเทศของตน เรียกว่า NDCs: Nationally Determined Contributions
การทำความรู้จักและเข้าใจเกี่ยวกับความตกลงปารีสมีความสำคัญมาก เราทุกคนในฐานะพลเมืองจำเป็นต้องใส่ใจเกี่ยวกับอนาคตของโลก เราต้องรู้ว่าความตกลงปารีสเป็นความตกลงร่วมที่นำพาให้ทุกประเทศร่วมกันบรรลุถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นแผนปฏิบัติเพื่อจะสามารถวางใจต่อความอยู่รอดและความเป็นอยู่ที่ดีของโลกและสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้
ชวนมาทำความรู้จักกับ The Paris Agreement, NDCs, และ NDCs ของประเทศไทยกันค่ะ

The Paris Agreement
ความตกลงปารีส (The Paris Agreement) เป็นข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับในปี 2558 โดยอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ข้อตกลงนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความมีส่วนร่วมทั่วโลกต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการจำกัดควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยคาดว่าความพยายามนี้จะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลงอย่างมีนัยสำคัญ
ความตกลงปารีสเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญในความพยายามระดับนานาชาติในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีประเทศต่างๆ จากทั่วโลกมาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน สามารถมองได้ว่า ความตกลงปารีส เป็นจุดเปลี่ยนทางการทูตด้านสภาพอากาศโลก และได้รับการยอมรับว่าเป็นความสำเร็จที่สำคัญสำหรับประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งจะรวมตัวกันทุก ๆ 5 ปีเพื่อประเมินความก้าวหน้าโดยรวมร่วมกัน
ขณะนี้มี 190+ ประเทศลงนามให้ความร่วมมือในความตกลงปารีสแล้วนะคะ เหลืออีกเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้น (ซึ่งมีข้อสังเกตว่า ประเทศที่ไม่ลงนามเป็นประเทศที่ขุดเจาะและส่งออกน้ำมันขนาดใหญ่)
หากทุกประเทศดำเนินการอย่างถูกต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของความตกลงปารีส จะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ แต่อย่างไรก็ตาม เป้าหมายนี้ก็ท้าทายมาก จะต้องใช้ความพยายามร่วมกันอย่างต่อเนื่องจากทุกประเทศ สิ่งสำคัญคือทุกประเทศต้องมุ่งเน้นไปพร้อม ๆ กัน และเห็นตรงกันว่านี่คือความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและเอื้อต่อการอยู่อาศัยสำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไป

Nationally Determined Contributions (NDCs)
การมีส่วนร่วมที่กำหนดในระดับประเทศ (NDCs) คือ เป้าหมายและมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) เฉพาะ ที่แต่ละประเทศให้คำมั่นว่าจะดำเนินการภายใต้ข้อตกลงปารีสโดยเป็นผู้กำหนด NDCs ของตนเอง ซึ่งจะต้องสรุปเป้าหมายการลดลดก๊าซเรือนกระจกในกรอบเวลาที่กำหนดและชี้แจงด้วยว่ามีมาตรการใดที่จะนำมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
NDCs เป็นส่วนที่สำคัญมากของ ความตกลงปารีส เนื่องจากแต่ละประเทศเป็นผู้กำหนดแผนการดำเนินการของตนเอง ซึ่งต้องอาศัยความรับผิดชอบและการดำเนินการอย่างโปร่งใสของแต่ละประเทศ รวมทั้งต้องออกแบบกรอบการทำงานและการประเมินความก้าวหน้าของตนเอง สามารถปรับเป้าหมายของประเทศตนเองตามความจำเป็น และให้ความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ด้วย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อการดำเนินการร่วมกันเพื่อสภาพอากาศของโลก
จากการวิจัยพบว่าแผนการดำเนินการ NDCs ที่ส่งมาจากประเทศต่างๆ ในปี 2558 นั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นต่ำกว่า 2°C ดังนั้น ประเทศต่างๆ จึงจำเป็นต้องเพิ่มวิธีการดำเนินการที่ท้าทายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายด้านอุณหภูมิโลกตามความตกลงปารีสได้ นอกจากนี้ การระบาดของ COVID-19 และปัจจัยอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดความล่าช้าสำหรับประเทศต่างๆ ในการส่ง NDCs แต่อย่างไรก็ตาม หลายประเทศได้ส่ง NDCs ใหม่ที่ผ่านการปรับปรุงแล้ว นับเป็นความหวังสำหรับการดำเนินการด้านสภาพอากาศโลก
โดยสรุปแล้ว NDCs ถือเป็นส่วนสำคัญของข้อตกลงปารีส ในการเป็นกรอบสำหรับประเทศต่างๆ ในการกำหนดเป้าหมายและการชี้วัดความก้าวหน้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศตนเอง อย่างไรก็ตาม ประเทศต่างๆ จะต้องตั้งใจดำเนินการอย่างเต็มความสามารถและมีความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ท้าทายของความตกลงปารีส และลดผลกระทบที่เลวร้ายให้ได้มากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

NDCs of Thailand
สำหรับประเทศไทยเอง ได้ส่งแผนดำเนินการที่กำหนดโดยประเทศ (NDC) ต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ในปี 2563 ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปฏิบัติภายใต้ความตกลงปารีส NDC ของประเทศไทยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
1. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก: ประเทศไทยตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อย 20% จากระดับปกติภายในปี 2573 เป้าหมายนี้จะสามารถเพิ่มขึ้นเป็น 25% ได้หากได้รับการสนับสนุนจากนานาชาติ
2. เป้าหมายย่อยของภาคส่วนต่างๆ ในประเทศ: ประเทศไทยกำหนดเป้าหมายย่อยสำหรับ 8 ภาคส่วนในประเทศ ได้แก่ ภาคส่วนพลังงาน ภาคส่วนอุตสาหกรรม ภาคส่วนการขนส่ง ภาคส่วนของเสีย ภาคส่วนเกษตรกรรม ภาคส่วนป่าไม้และการใช้ที่ดิน ภาคส่วนน้ำ และภาคส่วนอาคาร
3. เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน: ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายเป็นอย่างน้อย 30% ภายในปี 2573 นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายที่จะขยายการใช้ระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ Solar Rooftop และพลังงานไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มขึ้น
4. การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า: ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะปรับให้มีการใช้พลังงานตามที่จำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในอาคาร ในภาคอุตสาหกรรม และภาคการขนส่งโดยการส่งเสริมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน ออกระเบียบอาคารและแนวปฏิบัติด้านการจัดการพลังงานในภาคอุตสาหกรรมที่จะช่วยลดการใช้พลังงานลง และสนับสนุนการใช้ยานพาหนะที่ประหยัดเชื้อเพลิง
5. การปรับตัวต่อ Climate Change: ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรน้ำ การสร้างศักยภาพให้สามารถพึ่งพาตนเองและรู้รับปรับตัวกับสถานการณ์โลกร้อนในชุมชนชนบท และมีการปรับพื้นที่ชายฝั่งเพื่อป้องกัน/รับมือกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่รุนแรงและผันผวน
โดยรวมแล้ว จะเป็นว่า NDC ของประเทศไทยเป็นแผนดำเนินการที่มีความท้าทายมากทีเดียว ซึ่งพยายามจะจัดการและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ประเทศไทยจะต้องได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนที่ดีจากประชาคมระหว่างประเทศ ไปพร้อมๆ กับการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพในระดับประเทศ