ชวนรู้จัก “หยก” เพื่อนผู้เข้าร่วมโครงการ River Hack

แชร์โพสต์นี้
Facebook
Twitter
Email
คนต่อมาที่ทีมงานของเราสัมภาษณ์ในกิจกรรม River Hack เป็นนักออกแบบจากเมืองกรุง และเป็นตัวแทนจากกลุ่มที่ได้รับรางวัลไอเดียชนะเลิศด้วยค่ะ มาทำความรู้จักกับเธอกันค่ะ

?? ชวนแนะนำตัวค่ะ

?? สวัสดีค่ะ หยก – สุชาดา โชติวิทยกุล ค่ะ ปัจจุบันเป็น Junior Architect อยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่งค่ะ ทำงานออกแบบ Designing ให้กับที่อยู่อาศัย บ้าน ทำอินทีเรีย ออกแบบทั้งการตบแต่งภายในและออกแบบบ้านค่ะ

?? มาเข้าร่วมกิจกรรม EnivonHack – River Hack ได้อย่างไรคะ?

?? ตอนแรกได้เห็นกิจกรรม Hackaton จากการติดตามคุณชัชชาติค่ะ เห็นว่าเค้าจัด Greener Bangkok Hackathon กัน รู้สึกสนใจแต่พอจะสมัครเขาก็ปิดรับสมัครไปแล้ว ในใจก็ยังอยากจะร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการ Hack อยากแก้ปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองที่เอื้อกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ จนมาเจอกิจกรรม River Hack ค่ะ ตัดสินใจมาเพราะเราสนใจเรื่องวิถีชีวิตของคน บวกกับสถานที่จัดของกิจกรรม River Hack เป็นหนองคาย มีความคล้ายบ้านเกิดที่นครพนมก็เลยอยากมา และอยากลองหาไอเดียแก้ปัญหาแม่น้ำโขงค่ะ

?? มากิจกรรม EnivonHack เป็นครั้งแรก เป็นยังไงบ้างคะ?

?? รู้สึกว่าได้เปิดประสบการณ์ดีมากๆ เลยค่ะ เพราะอาชีพที่เราทำอยู่ เราเน้น Design สิ่งก่อสร้างเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน พอได้มาเจอคนอื่นๆ ที่ทำอาชีพอื่น มีความถนัดแบบอื่น แล้วใช้มุมมองของคนหลากหลายคิดไอเดียก็พบว่าสามารถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เหมือนกัน อย่างในมุมมองของนักพัฒนา วิศวกร นักวางแผนการตลาด เขาจะมีวิธีแก้ไขสิ่งแวดล้อมในแบบต่างๆ ซึ่งส่งเสริมกันได้ เอาความคิดมารวมกันให้มันดีขึ้นได้ค่ะ

?? ในทีมของเราแบ่งหน้าที่กันทำงานอย่างไรคะ?

?? ในทีมของเรามีน้องนักศึกษาที่ถนัดฟิสิกส์เป็นคนเร่ิมต้นไอเดียค่ะ และมีน้องที่เรียนเกี่ยวกับ marketing ให้มุมมองเรื่องการพัฒนาและการจัดการ มีเรื่องการตั้งวิสาหกิจชุมชนที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ ส่วนตัวเราเองมีความรู้ทางสถาปัตย์ซึ่งเป็นวิชาชีพเรา ก็เห็นปัญหา เห็น case study เกี่ยวกับการแก้ปัญหาบนพื้นที่ wet land เราก็ให้ข้อมูลนี้ไปในทีมค่ะ

?? พอทีมเราได้ลงพื้นที่ก็ได้เห็นปัญหาเรื่องประชากรปลาที่ลดน้อยลง ส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยตรงเพราะเขาทำอาชีพประมงเป็นหลัก หลังจากสัมภาษณ์แล้วเราคิดว่า ถ้าเขาสามารถกลับไปทำอาชีพเดิมที่เขาถนัดอยู่แล้ว มีประชากรปลาเพียงพอสำหรับการเลี้ยงชีพเหมือนเดิม ก็จะช่วยเหลือเขาเรื่องการอยู่การกินได้ ชาวประมงเองเขาก็อยากให้มีปลาเยอะเหมือนเดิม เราเลยมองเรื่องการเพาะพันธ์ปลา ทำ พื้นที่ที่จะช่วยอนุบาลพันธุ์ปลา และจะขอความร่วมมือในการสร้างพื้นที่อนุบาลปลาให้เป็นเขตอภัยทานเพราะคนในชุมชนเชื่อเรื่องบาปบุญค่ะ

?? มีพื้นที่ที่จะตั้งจุดอนุบาลปลาแล้วหรือยังคะ?

?? ตอนนี้เรากำหนดจุดที่จะตั้งเป็นที่แรกคือ วัดถ้ำสองคอน ค่ะ อยู่ในอำเภอสังคม บริเวณใกล้ๆ กับที่พวกเราไปลงพื้นที่ เราอยากให้พอติดตั้งแล้วชุมชนก็สามารถดำเนินการต่อได้ด้วยตนเองค่ะ

?? น่าสนใจมาก อยากให้ได้ทำจริงๆ จังค่ะ

?? ทีมเราก็คาดหวังว่าอยากทำให้ได้จริงๆ ค่ะ มันก็มีความเป็นไปได้ที่จะทำเป็นแหล่งอนุบาลปลาตรงพื้นที่ของวัดที่ติดริมตลิ่ง จะได้ช่วยเรื่องความยั่งยืนในการอนุรักษ์พันธุ์ปลาด้วย

?? เป็นไอเดียที่มาจากความต้องการของคนในชุมชนหรือเปล่าคะ?

?? ใช่ค่ะ จากการที่สอบถามคนในชุมชน พวกเขาก็มีไอเดียเรื่องอยากจะเพาะพันธุ์ปลากันอยู่แล้ว การเพาะพันธุ์ปลาเลี้ยงปลาจะต้องคอยโยนอาหารเม็ดให้ปลาตลอด เราเลยมองเห็นว่าจุดนี้สามารถทำให้กลายเป็นจุดแวะจุดท่องเที่ยวในพื้นที่วัดไปด้วยเลยได้ คนที่มาทำบุญที่วัดก็จะสามารถให้อาหารปลาตรงนั้น ในส่วนของอาหารปลา เราควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือหน่วยงานอื่น ที่จะช่วยให้คนในชุมชนมีอาหารปลาเพียงพอสำหรับการเลี้ยงปลา จากจุดนี้ พวกเราเลยมีไอเดียให้เกิดเป็นวิสาหกิจชุมชน คนในชุมชนอาจจะปลูกพืชที่นำมาแปรรูปเป็นอาหารปลาได้ นอกเหนือจากการทำเป็นอาหารให้ปลา ก็สามารถต่อยอดเป็นธุรกิจระดับชุมชนทำอาหารปลาขายได้ค่ะ

?? กลุ่มของเรามองว่า ถ้าเราทุกคนหวงแหนในสิ่งเดียวกัน ก็ย่อมอยากทำอะไรร่วมกัน เลยมองว่าการทำเป็นวิสาหกิจชุมชนจะเปิดให้คนในชุมชนได้ช่วยกันเพื่อประโยชน์ของทุกคนร่วมกันค่ะ

?? ว้าว ได้ไอเดียเหล่านี้มาจากไหนคะ?

?? เรามีน้องในทีมที่เป็นคนหนองคายอยู่ด้วย น้องเป็นคนเริ่มต้นไอเดียจากความเข้าใจในบริบทของบ้านตนเองค่ะ และตอน brain storm กับตอนคุยกับพี่ๆ mentors ก็มีไอเดียโผล่มาหลายแบบที่เอามารวมกันได้แล้วมันน่าทำ อย่างแหล่งอนุบาลพันธุ์ปลาที่จะทำมีลักษณะคล้ายปะการังเทียม ซึ่งเกิดจากการที่เราได้เห็นปัญหาจริงและมีแรงบันดาลใจที่จะแก้ปัญหาที่เราสนใจ

?? การได้คุยกับ mentor แต่ละท่านเป็นช่วงเวลาที่ดีมาก ช่วงพบ mentor ทีมเราได้คุยกับพี่ท็อป รมว.กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นคนแรก ที่ช่วยแนะนำเรื่องการทำปะการังเทียม พี่ท็อปสะท้อนว่าไอเดียนี้ยังไม่เคยมีมาก่อนเลย ถ้าเราทำสิ่งนี้มาใช้ในน้ำจืดก็น่าจะเป็นไปได้ คุยกับพี่ท๊อปเสร็จก็ได้คุยกับ อ.ชวลิต ต่อ ซึ่งเป็นคนที่มีความรู้ด้านชีววิทยาและพันธุ์สัตว์ อาจารย์ก็ช่วยดูว่ามีพันธุ์ปลาและพันธุ์พืชชนิดไหนที่จะมาอาศัยอยู่ในแหล่งอนุบาลพันธุ์ปลาของเราได้ และพอคุยกับพี่บึ้งซึ่งเป็นตัวแทนของคนในชุมชนก็ได้จุดประกายเรื่องการทำในพื้นที่ตลิ่งวัดที่เป็นเขตอภัยทาน เพื่อให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์ปลาอย่างเหมาะสม เสร็จจากคุยกับพี่บึ้ง ก็ได้คุยกับพี่วีวี่ พี่วีวี่ก็ให้ข้อมูลในแง่นโยบายและแนะนำหน่วยงานที่จะสามารถสนับสนุนไอเดียของเราได้ค่ะ

?? บอกความประทับใจในกิจกรรม River Hack หน่อยค่ะ

?? มากิจกรรมนี้ได้เรียนรู้หลายอย่างมากเลยค่ะ ตอนแรกก็มีความกังวลเรื่องอายุ เพราะคนที่สมัครเข้ามามักจะเป็นเยาวชนที่ยังเรียนมหาวิทยาลัยอยู่ เราเป็นคนทำงานแล้ว แต่ก็ได้พบว่า พอเราอยู่กับกลุ่มเยาวชน เราก็ได้คิดนอกกรอบไปเลย ไม่ได้ยึดติดกรอบที่ว่ามันจะเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ คือถ้าช่วยกันระดมไอเดียและพยายามเราก็สามารถทำให้สำเร็จเป็นไอเดียที่ดีได้ ต่างจากการคิดแบบคนที่โตแล้วว่าต้องคิดบนพื้นฐานข้อมูลเดิม มองความเป็นไปได้ที่เคยเกิดขึ้น ทำให้ไอเดียมันน้อยกว่าที่คิด แล้วก็กิจกรรมที่ชวนให้ได้คิดไวๆ ก็ช่วยให้เกิดไอเดียที่โผล่เข้ามาฉับพลันทันที รู้สึกว่าบางอย่างที่เราคิดออกมา มันก็เวิร์คดีเหมือนกัน สนุกค่ะ

?? ตอนนี้กำลังจะมีกิจกรรม Air Hack อยากบอกอะไรเพื่อนๆ บ้างคะ?

?? อยากบอกว่า ถ้าเป็นคนที่สนใจเรื่องการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือตระหนักกับปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เผชิญอยู่ กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ใช่ค่ะ จะเป็นคนในพื้นที่หรือคนนอกพื้นที่ที่สนใจก็ควรได้มาร่วม เราจะได้อะไรกลับไปแน่ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการคิด การแก้ปัญหา ไอเดียจากเพื่อนๆ หรือความรู้ที่วิทยากรให้มา มันคุ้มค่าและได้ประโยชน์มากค่ะ

ข่าวสาร/บทความล่าสุด

ติดตามพวกเราได้ที่