ชวนรู้จัก “ทราย” เพื่อนผู้เข้าร่วมโครงการ Koh Hack

แชร์โพสต์นี้
Facebook
Twitter
Email
ชวนมารู้จัก ทราย สมาชิก ทีม PHU-GREAT กับไอเดีย Community to be aware of landslides จากกิจกรรม Koh Hack Phuket กันค่ะ

??‍? แนะนำตัวหน่อยค่ะว่ากำลังทำอะไรอยู่?
?? ชื่อ ทราย อุษาทิพย์ กันสิทธิ์ ค่ะ เป็นนักวิเคราะห์ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งองค์กรก็เป็น Non-Profit ไม่แสวงหาผลทางกำไรค่ะ

??‍? ทำไมถึงมาร่วมงานHack ในครั้งนี้คะ?
?? เราสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมของการเป็นเกาะมากๆ พอมันเป็นเกาะ เราพบว่าการจัดการปัญหามันยากกว่าการจัดการบนพื้นที่ทั่วไปธรรมดา พอเห็นโครงการ Koh Hack ก็เลยสมัครมา เราเลยได้เห็นสภาพปัญหาของการเป็นเกาะจริงๆ ค่ะ

??‍? ในทีมสนใจประเด็นอะไรคะ?
?? เป้าหมายของเรา คืออยากทำโปรเจคที่แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอะไรก็ได้บนเกาะภูเก็ตค่ะ และก็อยากเห็นการมีส่วนร่วมของผู้คนบนเกาะ หัวข้อที่ทีมเราทำคือแก้ปัญหาดินสไลด์ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมนี้เอง เรามีไอเดียเอาชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ลดผลกระทบจากปัญหาดินสไลด์ที่เกิดกับคนในชุมชนลง ด้วยการชวนกลุ่ม CBT การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community – Based Tourism) เข้ามาช่วยในการแจ้งเตือนและช่วยเหลือเรื่องการอพยพในระยะสั้น ทำให้ลดการเสียหายของทรัพย์สินและชีวิตของคนในชุมชน รวมถึงในระยะยาว ก็ให้ CBT นำ Nature-based Solution มาช่วยจัดการที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติ ระบบนิเวศ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ มาแก้ปัญหาดินสไลด์ในระยะยาว อย่างรากของต้นไม้สามารถช่วยชะลอการไหลของดินได้ เป็นส่วนสำคัญในการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน

??‍? ถ้าจะทำให้สำเร็จต้องใช้ความรู้เรื่องไหนบ้างคะ?
?? ในส่วน Skills และ Knowlege เราจะมีการอบรมให้ชุมชนได้รู้ว่ามีการเกิดดินสไลด์ ด้วยการทำให้ชุมชนรับทราบสัญญาณของดินถล่ม คือในส่วนราชการมีการเก็บข้อมูลน้ำฝนสะสมรายปี ซึ่งในปีนี้มีฝนมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา เขาสามารถส่งข้อมูลให้ชุมชน คอยสังเกต พร้อมรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วสามารถดูร่วมกันได้ หากว่าน้ำฝนตกเกิน 100 มิลลิเมตร หรือตกหนักเกิน 6 ชั่วโมง ต้องเริ่มแจ้งเตือน ในพื้นที่ที่เฝ้าระวังที่เคยเกิดดินสไลดอาจจะเกิดขึ้นได้อีก แล้ว Nature-based Solution ต้องมีการปลูกพืชที่มีความหลากหลาย มีลักษณะของรากที่มีความจำเพาะต่อพื้นที่นั้น ควรเป็นพืชพื้นถิ่นที่ไม่ใช่เอเลี่ยนสปีชี่ พี่ๆ ในพื้นที่สะท้อนว่าความรู้เรื่องนี้ในประเทศไทยยังน้อยอยู่ ซึ่งควรที่จะมีการศึกษาไปพร้อมกับนักวิชาการในพื้นที่และตัวชุมชนเอง

??‍? การมา Koh Hack เราได้อะไรกลับไปคะ?
?? จริงๆ เราชอบกลุ่มเรามากๆ ชอบคนที่มาแฮ็ค เป็นคนที่ความสนใจใกล้ๆ กัน กับพลังงานใกล้ๆ กัน มีแบกกราวด์ที่ต่างกัน มีข้อมูลที่ต่างกัน แต่ในเวลาเพียงสองวันเราทำงานให้เกิดเป็นโปรเจ็คได้ ทั้งๆ ที่มันไม่ง่าย เราชอบพลังของคน เหมือน Energy มันดีมากเลย เรารู้สึกว่าในช่วงเวลาทำงานนี้มันทั้งสั้นและค่อนข้างเข้มข้น บีบให้สิ่งดีๆ มันเกิดขึ้น คือเราไม่ได้มองว่าโปรเจ็คของกลุ่มเรามันดีที่สุด เราว่าของกลุ่มอื่นๆ ก็น่าสนใจมากเลย การได้มาคลุกคลีกับคนที่อยากทำเรื่องเดียวกันจริงๆ กับในงานมีคนพื้นที่ที่เป็นคนภูเก็ตจริงๆ ซึ่งให้ข้อมูลเราได้ดีมาก เราเลยชอบมาก

??‍? ในกลุ่มเรามีน้องที่เป็นนักเรียนด้วยใช่ไหมคะ?
?? ใช่ค่ะ เป็นน้อง ม.5 อยู่ 2 คน น้องก็เป็นฝ่ายสนับสนุนด้านข้อมูลในฐานะที่เป็นคนภูเก็ตได้ดีมาก เราก็ได้ถามน้องว่าดินถล่มที่ผ่านมา คนที่ได้ผลกระทบมากที่คือสุดคือใคร เขาเดินทางกันอย่างไร ทำงานกันอย่างไร และในช่วงการลงพื้นที่หรือทำอะไรต่างๆ น้องก็สนับสนุนได้ดีมาก

??‍? อยากบอกอะไรกับเพื่อนๆ ที่จะมาร่วมกิจกรรมของ EnvironHack บ้างคะ?
?? ถ้าใครกำลังสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อม แล้วอยากรู้ปัญหาในจุดนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแม่น้ำ เรื่องฝุ่นควัน เราคิดว่าควรมาเข้าโครงการแบบนี้ หากว่าเราไปเดินถามเอง ถามชาวบ้าน A ถามชาวบ้าน B ก็คงไม่ได้เข้าใจสภาพปัญหาทั้งหมด การที่โครงการ EnvironHack มีทั้งผู้เชี่ยวชาญ มีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องลงมารับฟัง มีการเข้าไปหาคนในพื้นที่แล้วได้ลงพื้นที่จริง รับข้อมูลจริงด้วยตัวเอง เมื่อมีไอเดียแล้วให้เราได้ Pitching นำเสนอ เป็นการที่ทำให้เราได้เช็คว่ามันเป็นไปได้จริงไหม และบางไอเดียก็มีโอกาสได้พัฒนาต่อด้วย ดีและคุ้มค่าในสองสามวันมากๆ เลยอยากชวนให้มากันเยอะๆ นะคะ

ผู้เข้าร่วมจากแต่ละแฮ็ค ต่างก็ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และความประทับใจกลับไป น่ายินดีจริงๆ ค่ะ

ข่าวสาร/บทความล่าสุด

ติดตามพวกเราได้ที่