Environ Fact! ความท้าทายเมื่อเกิดน้ำมันรั่วกลางทะเล

แชร์โพสต์นี้
Facebook
Twitter
Email
วิกฤตน้ำมันรั่วกลางทะเล ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวประมงและผู้คนรอบชายหาด ลดความมั่นใจต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ไม่เชื่อมั่นในความปลอดภัยทางด้านอาหารทะเล ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจนี้ ก่อให้เกิดความผันผวนค่าเงินบาทในตลาดหลักทรัพย์เพราะนักลงทุนมีความกังวลจากการจัดการน้ำมันรั่วกลางทะเลที่ล่าช้า

สาเหตุของน้ำมันรั่วกลางทะเลไม่ได้มีเพียงสาเหตุเดียว แต่เกิดขึ้นได้จากการรั่วไหลทางธรรมชาติ เกิดจากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม การขนส่งจากทางเรือและท่อขนส่ง การรั่วไหลจากหอกลั่นน้ำมันกลางทะเล หรือแม้กระทั่งการรั่วไหลจากการใช้งาน เพราะฉะนั้นหลักในการแก้ปัญหาวิกฤตเรื่องนี้ต้องยึดหลักการทำงานที่รวดเร็ว ร่วมมือ อย่างมีความรู้ และหาทางออกที่ยั่งยืน ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างมีนวัตกรรม


ความท้าทายต่อวิกฤตน้ำมันรั่วกลางทะเล คือความจริงที่ว่า คุณสมบัติทางเคมีของน้ำมันสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพได้ตลอดเวลา การจัดการที่ล่าช้าจะยิ่งส่งผลต่อความยากลำบากในการจัดการปัญหา แรงคลื่นในทะเลที่กระจายเป็นพื้นที่วงกว้างมีโอกาสทำให้น้ำทะเลกับน้ำมันผสมกัน กระแสน้ำทะเลและทิศทางของลมก็เป็นความแปรปรวนของสภาพอากาศที่ก่อให้เกิดอุปสรรค เกิดการปนเปื้อนในระบบนิเวศมากยิ่งขึ้น


จะเห็นว่าน้ำมันที่รั่วไหลออกสู่ทะเลรวมกับปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ ก่อให้เกิดความยากลำบากต่อการจัดการแก้ไขปัญหา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระดมทรัพยากรจากหลากหลายหน่วยงานมาร่วมมือกันแก้ไข


การแก้วิกฤตน้ำมันรั่วกลางทะเลควรมีแผนรับมือทั้งระยะสั้นและระยะยาวจากองค์กร หน่วยงาน กลุ่มทุกภาคส่วน และเปิดเผยวิธีการแก้ไขปัญหาและการจัดการรับมือ ให้ประชาชนสามารถติดตามและประเมินสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตนได้ เพื่อจะช่วยลดความเสี่ยงกับผู้ที่ต้องสัมผัสกับน้ำทะเลที่ปนเปื้อนน้ำมันและเพื่อรักษาระบบนิเวศทางทะเล

จริงๆ แล้ว เรามีวิธีที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วในการรับมือกับน้ำมันที่รั่วออกสู่ทะเล ซึ่งสามารถนำน้ำมันกลับมาใช้ในอุตสาหกรรมได้ด้วยค่ะ โดยเราสามารถระบุตำแหน่งที่น้ำมันรั่วและปริมาตรน้ำมันที่ล้นทะลักได้อย่างแม่นยำเพื่อที่จะออกแบบแผนการจำกัดการเคลื่อนการที่ (Containment) และหลีกเลี่ยงกระแสการเคลื่อนที่ของน้ำมันไปในบริเวณที่มีระบบนิเวศเปราะบาง จากนั้นนำน้ำมันไปเข้ากระบวนการแยกและนำกลับมาใช้ใหม่ เมื่อดูดเอาน้ำมันส่วนใหญ่ออกแล้ว ปริมาณน้ำมันก็จะเหลือเพียงแค่บริเวณผิวน้ำ เราสามารถใช้สารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับน้ำมัน สร้างกระบวนการให้จุลชีพช่วยย่อยสลายน้ำมันนั้นได้ ปัจจุบันมีนวัตกรรมการพัฒนาวัสดุจากธรรมชาติที่ใช้ในการดูดซับน้ำมันได้ดี เป็นสารจากผลิตภัณฑ์ทางเกษตรในประเทศ เช่น มันสำปะหลัง ซังข้าวโพด และเส้นผมของมนุษย์

ข่าวสาร/บทความล่าสุด

ติดตามพวกเราได้ที่