Ideas from EnvironHack

ทำไมต้องทำ EnvironHack?

แม้ว่าเราจะรับมือกับเชื้อไวรัสโควิดมาได้อย่างฉิวเฉียด ด้วยวัคซีนและวิธีการปฏิบัติแบบ New Normal ที่ทุกคนร่วมมือกัน แต่มีปัญหาหนึ่งที่ยังดำเนินอยู่ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งและเงียบเชียบ ราวกับว่ายังไม่ถึงเวลาที่เราทุกคนจะตื่นตัวพร้อมกัน ปัญหานั้นคือปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทีมงาน EnvironHack มาจากหลากหลายที่มา แต่สิ่งที่เรามีเหมือนกันคือความเป็นห่วงเป็นใยต่อสถานการณ์และปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพที่มีลดน้อยลง สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจนถึงจุดที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกใช้อย่างไม่มีการชดเชย และการก่อสร้างด้วยฝีมือมนุษย์ที่สร้างผลกระทบทางธรรมชาติต่อเนื่องจนเกิดปัญหาตามมาไม่รู้จบ

เราเชื่อว่า นอกจากพวกเราแล้ว ยังมีคนอีกมากในประเทศของเราที่สนใจและใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อม เราจึงริเริ่มกิจกรรม EnvironHack เพื่อชวนทุกคนที่มองเห็นปัญหานี้และเชื่อว่าตนเองจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการลงมือทำเพื่อแก้ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมได้ มาอยู่รวมกัน 24-36 ชั่วโมง ตามคอนเส็ปต์ของ Hackathon เพื่อมาค้นหา ศึกษาข้อมูล ออกแบบ และทดลองโปรโตไทป์ (ต้นแบบผลิตภัณฑ์หรือผลงานที่จะแก้ปัญหา) เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน

กิจกรรมของเราจึงถูกเรียกว่า EnvironHack มาจากคำว่า Environment สิ่งแวดล้อม และ Hack การแก้ปัญหาแบบกัดไม่ปล่อยนั่นเอง

จะเข้าร่วม EnvironHack ได้อย่างไร?

กิจกรรม EnvironHack จะถูกจัดให้เกิดขึ้นรวมทั้งหมด 6 ครั้ง ใน 6 จังหวัดทั่วประเทศไทย เพื่อกระจายการร่วมแก้ปัญหาในพื้นที่ต่างๆ ที่มีปัญหาเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • 5 – 7 สิงหาคม 2565 > /Beach Hack > แก้ไขปัญหาชายฝั่งทะเลไทยอย่างยั่งยืน, จังหวัดเพชรบุรี
  • 23 – 25 กันยายน 2565 > Water Hack > การจัดการน้ำและมลพิษชายฝั่ง, จังหวัดระยอง
  • 28 – 30 ตุลาคม 2565 > Climathon BKK > ร่วมแก้ไขปัญหา Climate Change ไปพร้อมกับ 170 เมือง 60 ประเทศทั่วโลก, กรุงเทพมหานคร 
  • 25 – 27 พฤศจิกายน 2565 > Koh Hack > เฟ้นไอเดียลดมลพิษเพื่อทุกชีวิตบนเกาะ, จังหวัดภูเก็ต
  • 9 – 11 ธันวาคม 2565 > River Hack > ปลุกไฟอนุรักษ์ ดีไซน์นวัตกรรมพิทักษ์แม่น้ำโขง, จังหวัดหนองคาย
  • 27 – 29 มกราคม 2566 > Air Hack > หาทางออกเพื่อป้องกันและรับมือฝุ่นควัน PM2.5 ในอากาศ, จังหวัดลำปาง

 

สมัครมาได้ไม่ว่าจะมาเดี่ยวเพื่อรวมทีมใหม่หรือมาเป็นทีมก็ได้ กิจกรรมไม่กำหนดเพศและอายุ ขอเพียงมีกำลังใจ กำลังสมอง และความพร้อมที่จะตะลุยแก้ปัญหาแบบมาราธอนไปด้วยกัน รับรองว่าจะสนุก โหด มัน ได้ทางออกใหม่ของปัญหาที่รบกวนใจ และได้เพื่อนที่มีหัวใจเดียวกันกลับไปเยอะแยะเลย

ข่าวสาร/บทความ

กิจกรรมที่ผ่านมา

สมัครเข้าร่วมกิจกรรม

  • 5 – 7 สิงหาคม 2565 > /Beach Hack > แก้ไขปัญหาชายฝั่งทะเลไทยอย่างยั่งยืน, จังหวัดเพชรบุรี (สิ้นสุดกิจกรรมแล้ว) (รายละเอียดกิจกรรม)
  • 23 – 25 กันยายน 2565 > Water Hack > การจัดการน้ำและมลพิษชายฝั่ง, จังหวัดระยอง (สิ้นสุดกิจกรรมแล้ว) (รายละเอียดกิจกรรม)
  • 28 – 30 ตุลาคม 2565 > Climathon BKK > ร่วมแก้ไขปัญหา Climate Change ไปพร้อมกับ 170 เมือง 60 ประเทศทั่วโลก, กรุงเทพมหานคร (สิ้นสุดกิจกรรมแล้ว) (รายละเอียดกิจกรรม)
  • 23 – 25 พฤศจิกายน 2565 > Koh Hack > ฟื้นคืนธรรมชาติ กับก้าวใหม่เพื่อทุกชีวิตบนเกาะ, จังหวัดภูเก็ต (สิ้นสุดกิจกรรมแล้ว) (รายละเอียดกิจกรรม)
  • 9 – 11 ธันวาคม 2565 > River Hack > ปลุกไฟอนุรักษ์ ดีไซน์นวัตกรรมพิทักษ์แม่น้ำโขง, จังหวัดหนองคาย (สิ้นสุดกิจกรรมแล้ว) (รายละเอียดกิจกรรม)
  • 27 – 29 มกราคม 2566 > Air Hack > หาทางออกเพื่อป้องกันและรับมือฝุ่นควัน PM2.5 ในอากาศ, จังหวัดลำปาง (สิ้นสุดกิจกรรมแล้ว) (รายละเอียดกิจกรรม)

รวมพลังกันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม EnvironHack Season 1 โดย

ติดต่อเรา

— 5 ไอเดียจาก /Beach Hack —

  • CEPM: ระบบเพื่อช่วยประเมินสถานการณ์ชายฝั่งกัดเซาะ โดย ทีมนักวิชาการกับการลงพื้นที่ที่หายไป
  • โปรโมทการท่องเที่ยวแบบสร้างความตระหนักด้วยเมนู ‘รสชีวิต’ โดย ทีม Beach Dine
  • ‘Bleach Please’ เว็บแอปพลิเคชันที่จะทำให้ทุกเสียงมีความหมาย โดย ทีม Sun of a Beach
  • ปักไม้ไผ่กันคลื่นแบบประยุกต์ สร้างสมดุลทั้งค่าใช้จ่ายและระบบนิเวศ โดย ทีม Saai Saver
  • เข้าใจผลกระทบชายฝั่งแบบ 360 องศาด้วยเทคโนโลยี Beach View โดย ทีม Sea-Your-Future

— 6 ไอเดียจาก Water Hack —

  • เครือข่ายชาวประมงผู้พิทักษ์ โดย ทีม รู้ทะเล
  • ระบบการตรวจจับและจัดการน้ำมัน โดย ทีม The Winner
  • Hydrogeology Consultancy: Optimize การใช้น้ำในเขต EEC โดย ทีม Wature
  • ซั้งสร้างฝัน โดย ทีม อิคคิว ซั้ง
  • Ocean Drone โรบอทเก็บขยะในทะเล โดย ทีม Future Fast and Furious Hack
  • รถ All in One ที่มีระบบล้างขวด แยกและรวบรวมขยะไว้ในคันเดียว โดย ทีม Wasteverse

— 9 ไอเดียจาก Climathon —

  • Garbage Truck Routing Optimization (GTRO) via Cloud Fleet Routing Technique โดย ทีม กาแฟอยู่ไหน
  • การพัฒนาพื้นที่เขตธรณีสงฆ์ของวัดให้เป็นสวนละแวกบ้าน (Pocket Park) โดย ทีม Dream Comes True
  • NexBike: รถมอเตอร์ไซค์พลังงานไฟฟ้า เชื่อมการเดินทางแห่งอนาคต โดย ทีม NexBike
  • Application for cool man “VAN COOL VER” โดย ทีม รถ ลด Road
  • รับเรื่องข้อร้องเรียนควันดำด้วยแพลตฟอร์ม Line Chat Bot โดย ทีม Climax
  • Cooling BKK by Heat Risk Map โดย ทีม Heat Level
  • ระบบติดตามการดำเนินการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดย ทีม Web Waster
  • แอพลิเคชันที่แสดงจุดรับขยะแต่ละประเภท โดย ทีม Wait Waste
  • แผนเชื่อมต่อการเดินทางของขนส่งมวลชน ส่งเสริมไลฟ์สไตล์คาร์บอนต่ำ โดย ทีม ไม่นอนก็ได้ถ้ากาแฟถึง

— 6 ไอเดียจาก Koh Hack —

  • Community Based to be aware of Landslides โดย Phu Great
  • ฝาท่อระบบไฮบริดระบายน้ำและส่งสัญญาณเตือนภัยน้ำท่วม โดย ทีม Flood Drive
  • เปลี่ยนขยะอินทรีย์ให้กลายเป็น Bio Plastic โดย ทีม Save Box Phuket
  • ตัวกลางรับแลกอวนเก่า
    จากชาวประมงเพื่อนำไปรีไซเคิล โดย ทีม โอบอวน
  • เรือประมงหางยาว EV เพื่อการท่องเที่ยว โดย ทีม เรือเล็กซ์
  • ธุรกิจ Organic Sunscreen ผ่านตู้หยอดเหรียญ โดย ทีม เลือดกรุ๊ปบี

— 7 ไอเดียจาก River Hack —

  • อนุบาลปลาโขง โดย ทีม ลาลาลอย
  • ภารกิจพิทักษ์ราชินีแม่โขง: ต้นไคร้ โดย ทีม ไคร้ เคียง โขง
  • Censor ตรวจวัดระดับน้ำและแจ้งเตือน Real Time ผ่าน SMS โดย ทีม WARN
  • Constructed Wetland แดนพญานาค โดย ทีม เขื่อนกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว
  • บุ่งหลบภัยอัจฉริยะ โดย ทีม ดุดัน ไม่เกรงใจใคร
  • ออกแบบการท่องเที่ยววิถีชุมชน จัดการโดยคนในชุมชนบ้านม่วง โดย ทีม โขงคะนอง
  • Ma Der Mekong, Nomad Exhibition โดย ทีม ไทยลาวร่วมจุย

— 7 ไอเดียจาก Air Hack —

  • Sound Warning: แจ้งเตือนระดับฝุ่นควันในโรงเรียนพร้อมวิธีปฏิบัติตัว โดย ทีม ละอ่อนน้อย
  • หนุมานกินฝุ่น: เครื่องกรองและหน้ากากหนุมานส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องเรียนอนุบาล โดย ทีม อะ Hack แค่กๆๆ
  • Smart ปอด: Smart Service for Respiratory Diseases โดย ทีม I need Caffeine
  • Nano Box Lampang: กรองอากาศเสียจากการเผาไหม้ก้อนเห็ดและการดูดซับอากาศ โดย ทีม ยาพาราเป็นของจำเป็น
  • ระบบแจ้งเตือนค่าฝุ่นละอองในชุมชนผ่านจอดิสเพลย์ โดย ทีม ฝุ่นคะนอง
  • โรงผลิตไบโอชาร์และศูนย์เรียนรู้เพื่อการกักเก็บดูดซับมลพิษ โดย ทีม ป่าตลอดปอดสะอาด
  • ผลิตภัณฑ์ทรายแมวจากซากเกษตรเพื่อลดการเผา โดย ทีม ไม่รู้ไม่รู้ไม่รู้